เมนู

อย่าสำคัญข้อนั้นอย่างนี้ว่า พระอานนท์ไม่ห้ามสาวก ผู้มีส่วนเปรียบด้วย
พระพุทธเจ้า ห้ามแต่ภิกษุณีฝ่ายเดียว. ความคุ้นเคยหรือความเยื่อใยของ
สาวกกับภิกษุณีนั้นจักมีได้ ดังนี้.
บัดนี้ พระมหากัสสป เมื่อแสดงตนว่ามีส่วนเปรียบด้วยพระ-
พุทธเจ้า จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ตึ กึ มญฺญสิ อาวุโส ดังนี้. บทว่า
สตฺตรนํ คือ ประมาณ 7 ศอก. บทว่า นาคํ คือ ช้าง. บทว่า
อฑฺฒฏฺฐมรตนํ วา ได้แก่ 8 ศอกครึ่ง อธิบายว่า ตั้งแต่เท้าหน้าจนถึง
กระพองสูง 7 ศอกคืบ. บทว่า ตาลปตฺติกาย คือ ด้วยใบตาลอ่อน.
บทว่า จวิตฺถ ความว่า ถุลลติสสาภิกษุณีเคลื่อนแล้ว (จากเพศ
พรหมจรรย์) คือยังไม่ตาย หรือฉิบหายแล้ว.
ก็เมื่อพระมหากัสสปเถระบันลือสีหนาทด้วยอภิญญา 6 อยู่ ผ้าย้อม
น้ำฝาดของภิกษุณีนั้น เริ่มระคายที่ร่างกายเหมือนเรียวหนาม เพราะกล่าว
ร้ายสาวกผู้มีส่วนเปรียบด้วยพระพุทธเจ้า. ความพอใจเกิดขึ้น ในขณะ
เปลื้องผ้าเหล่านั้นออกนุ่งผ้าขาว ดังนี้.
จบอรรถกถาภิกขุนูปัสสยสูตรที่ 10

11. จีวรสูตร



ว่าด้วยภิกษุสัทธิวิหาริกของพระอานนท์ 30 รูป ลาสิกขา



[518] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัสสปอยู่ ณ พระเวฬุวันกลัน-
ทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์. ก็สมัยนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไป
ในทักขิณาคิรีชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ก็โดยสมัยนี้แล ภิกษุ
ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของท่านประมาณ 30 รูป โดยมากยังเป็นเด็กหนุ่ม พา
กันลาสิกขา เวียนมาเพื่อความเป็นหีนเพศ.

[519] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เที่ยวจาริกไปตามชอบใจใน
ทักขิณาคิรีชนบท แล้วกลับไปสู่พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน กรุง
ราชคฤห์ เข้าไปหาท่านพระมหากัสสปถึงที่อยู่ ครั้นเข้าไปหาแล้ว ไหว้
พระมหากัสสปนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง เมื่อท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อย
แล้ว ท่านพระมหากัสสปได้กล่าวปราศรัยก็ท่านพระอานนท์ว่า อานนท์
ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอำนาจประโยชน์เท่าไรหนอ จึง
ทรงบัญญัติการขบฉันถึง 3 หมวดในตระกูลเข้าไว้.
[520] ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ข้าแต่ท่านกัสสปผู้เจริญ พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ 3 ข้อ จึงได้ทรงบัญญัติการ
ขบฉันถึง 3 หมวดในตระกูลเข้าไว้ คือเพื่อข่มคนหน้าด้าน เพื่อให้
ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักอยู่เป็นสุข และเพื่ออนุเคราะห์ตระกูลโดยเหตุที่พวกมี
ความปรารถนาลามก อาศัยสมัครพรรคพวกแล้วจะพึงทำสงฆ์ให้แตกกัน
ไม่ได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ 3 ข้อเหล่านี้แล
จึงได้ทรงบัญญัติการขบฉันถึง 3 หมวดในตระกูลเข้าไว้.
[521] ก. อานนท์ผู้มีอายุ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอเที่ยวไปกับภิกษุ
เหล่านี้ ผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ
ไม่ประกอบความเพียร เพื่อประโยชน์อะไรเล่า เธอมัวแต่จาริกไปเหยียบ
ย่ำข้าวกล้า มัวแต่จาริกไปเบียดเบียนตระกูล อานนท์ผู้มีอายุ บริษัทของ
เธอย่อมลุ่ยหลุดไป สัทธิวิหาริกของเธอซึ่งโดยมากเป็นผู้ใหม่ ย่อมแตก
กระจายไป เธอนี้ยังเป็นเด็ก ไม่รู้จักประมาณ.
อ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บนศีรษะของกระผม ผมหงอกแล้วมิใช่หรือ
ถึงอย่างนั้น พวกกระผมก็ยังไม่พ้นจากท่านพระมหากัสสปว่าเป็นเด็ก.

ก. ก็เป็นจริงอย่างนั้น อานนท์ผู้มีอายุ เธอยังไปเที่ยวกับภิกษุ
ใหม่ ๆ เหล่านี้ ผู้ไม่คุ้มครองทวารให้อินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณ
ในโภชนะ. ไม่ประกอบความเพียร เธอมัวแต่จาริกไปเหยียบย่ำข้าวกล้า
มัวแต่จาริกไปเบียดเบียนตระกูล อานนท์ผู้มีอายุ บริษัทของเธอย่อมลุ่ย
หลุดไป สัทธิวิหาริกของเธอซึ่งโดยมากเป็นผู้ใหม่ ย่อมแตกกระจายไป
เธอนี้ยังเป็นเด็ก ไม่รู้จักประมาณ.
[522] ภิกษุณีถุลลนันทาได้ยินแล้วคิดว่า ทราบว่าพระผู้เป็น
เจ้าอานนท์ผู้เป็นมุนีเปรื่องปราชญ์ ถูกพระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปรุกราน
ด้วยวาทะว่าเป็นเด็กไม่พอใจ จึงเปล่งวาจาแสดงความไม่พอใจว่า อะไร
เล่าพระผู้เป็นเจ้ามหากัสสป ผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ จึงสำคัญพระคุณเจ้า
อานนท์ผู้เป็นมุนีเปรื่องปราชญ์ว่า ตนควรรุกรานด้วยวาทะว่าเป็นเด็ก
ท่านพระมหากัสสปได้ยินดีภิกษุณีถุลลันทากล่าววาจานี้แล้ว.
[523] ครั้งนั้นแล ท่านมหากัสสปจึงกล่าวกะท่านพระอานนท์
ว่า อานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุณีถุลลนันทายังไม่ทันพิจารณา ก็กล่าววาจา
พล่อย ๆ เพราะเราเองปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิต ไม่นึกเลยว่า เราบวชอุทิศศาสดาอื่น นอกจาก
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ครั้ง
ก่อน เมื่อเรายังเป็นคฤหัสถ์เคยคิดว่า ฆราวาสช่างคับแคบ เป็นทางมา
แห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง ผู้อยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์
ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวประดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่ายนัก ทางที่ดี
เราควรปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต สมัยต่อมา เราทำผ้าสังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่า ปลงผมและหนวด

นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต อุทิศเฉพาะท่าน
ผู้เป็นพระอรหันต์ในโลก เมื่อบวชแล้วยังเดินไปสิ้นระยะทางไกล ได้พบ
พระผู้มีพระภาคเจ้าระหว่างเมืองราชคฤห์กับบ้านนาลันทคาม กำลัง
ประทับนั่งอยู่ ณ พหุปุตตเจดีย์ พอพบเข้าแล้วก็รำพึงอยู่ว่า เราพบพระ
ศาสดา ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย เราพบพระสุคต ก็เป็น
อันพบพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย เราพบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็เป็นอัน
พบพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย ผู้มีอายุ เรานั้นจึงซบเศียรเกล้าลงแทบพระ-
บาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่นั้นเอง ได้กราบทูลกะพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของ
ข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
เป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้.
[524] เมื่อเรากราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้
ตรัสกะเราว่า ดูก่อนกัสสป ผู้ใดเล่ายังไม่ทราบชัดถึงสาวกผู้ประมวลมา
ด้วยจิตทั้งหมดอย่างนี้แล้ว จะพึงพูดว่ารู้ ยังไม่เห็นเลย จะพึงพูดว่าเห็น
ศีรษะของบุคคลนั้นพึงแตก ดูก่อนกัสสป แต่เรารู้อยู่ จึงพูดว่ารู้ เห็น
อยู่ จึงพูดว่าเห็น เพราะเหตุนั้นแหละกัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เรา
จักเข้าไปตั้งหิริโอตตัปปะอย่างแรงกล้าในภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระ ผู้นวกะ
ผู้มัชฌิมะ. . . เราจักฟังธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งประกอบด้วยกุศล จัก
กระทำธรรมนั้นทั้งหมดให้เกิดประโยชน์ ใส่ใจถึงธรรมนั้นทั้งหมด จัก
ประมวลมาด้วยจิตทั้งหมด เงี่ยโสตสดับพระธรรม. . . เราจักไม่ละกาย-
คตาสติที่สหรคตด้วยกุศลความสำราญ ดูก่อนกัสสป เธอพึงศึกษาอย่างนี้
แหละ ดูก่อนผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทเราด้วยพระโอวาท

นี้ เสด็จลุกจากอาสนะแล้วทรงหลีกไป ดูก่อนผู้มีอายุ เราเป็นหนี้บริโภค
ก้อนข้าวของราษฎรถึง 1 สัปดาห์ วันที่ 8 พระอรหัตผลจึงปรากฏขึ้น
คราวนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกจากหนทางตรงไปยังโคนต้นไม้แห่ง
หนึ่ง เราจึงเอาผ้าสังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่าปูเป็น 4 ชั้นถวาย แล้วกราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประทับนั่งบนผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอด
กาลนาน ดูก่อนอาวุโส พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ประทับนั่งบนอาสนะที่จัด
ถวาย ครั้นประทับนั่งแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราว่า กัสสป ผ้า
สังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่าของเธอผืนนี้อ่อนนุ่ม เราก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าได้โปรดอนุเคราะห์ทรงรับผ้าสังฆาฏิแห่ง
ผ้าที่เก่าของพระองค์เถิด พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนกัสสป เธอจักครอง
ผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่หรือ เราก็กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักครองผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่ของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ดังนี้.
[525] ดูก่อนอาวุโส เราได้มอบถวายผ้าสังฆาฏิแห่งผ้าที่เก่าแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า และได้รับผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่ของ
พระผู้มีพระภาคเจ้า ดูก่อนอาวุโส ก็เมื่อบุคคลจะพูดให้ถูก พึงพูดถึง
ผู้ใดว่า บุตรผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
เกิดแต่พระธรรม อันธรรมนิรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท จึงรับผ้าบังสกุล
ที่ทำด้วยผ้าป่านซึ่งยังใหม่ เขาเมื่อจะพูดให้ถูก พึงพูดถึงผู้นั้น คือเราว่า
บุตรผู้เกิดแต่อก เกิดแต่พระโอษฐ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เกิดแต่พระ
ธรรม อันธรรมนิรมิตแล้ว เป็นธรรมทายาท รับผ้าบังสุกุลที่ทำด้วยผ้า

ป่านซึ่งยังใหม่.
[526] ดูก่อนอาวุโส เราหวังสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
แล้วเข้าถึงปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่
ดูก่อนอาวุโส เราหวัง ฯ ล ฯ
[อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 และอภิญญา 5 มีเปยยาลอย่างนี้]
[527] ดูก่อนอาวุโส เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเองในทิฏฐธรรม
เข้าถึงอยู่ ผู้ใดสำคัญเราว่า ควรปกปิดด้วยอภิญญา 6 ผู้นั้นก็ควรสำคัญ
ช้าง 7 ศอกหรือ 7 ศอกครึ่งว่า จะพึงปกปิดด้วยใบตาลได้.
ก็แลภิกษุณีถุลลนันทาเคลื่อนจกาพรหมจรรย์เสียแล้ว.
จบจีวรสูตรที่ 11

อรรถกถาจีวรสูตรที่ 11



พึงทราบวินิจฉัยในจีวรสูตรที่ 11 ดังต่อไปนี้.
บทว่า ทกฺขิณาคิริสฺมึ ความว่า ชนบทภาคทักษิณของภูเขาเป็น
เทือกล้อมกรุงราชคฤห์ชื่อว่า ทักขิณาคิริ. อธิบายว่า เที่ยวจาริกไปใน
ทักขิณาคิรีชนบทนั้น. ชื่อว่าจาริกมี 2 อย่างคือ รีบไป 1 ไม่รีบไป 1.
ในบทเหล่านั้น ภิกษุบางรูปนุ่งผ้ากาสายะผืนหนึ่ง ห่มผื่นหนึ่งตลอด
เวลา คล้องบาตรและจีวรที่บ่า ถือร่ม วันหนึ่งเดินไปได้ 7-8 โยชน์
มีเหงื่อไหลท่วมตัว. ก็หรือว่าพระพุทธเจ้าทรงเห็นสัตว์ พึงตรัสรู้ไร ๆ
ขณะเดียวเสด็จไปได้ร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง. นี้ชื่อว่า รีบไป.